วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บทความทางวิชาการ

 บทความทางวิชาการ

สารสนเทศต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ระบบ สารสนเทศ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งทำการรวบรวมประมวลผล,เก็บรักษา และ กระจายสารสนเทศออกไป เพื่อสนับสนุน การควบคุม, การวิเคราะห์, การตัดสินใจ และการวางแผนที่เกิดขึ้นภายในองค์กร กิจกรรมที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศ ได้แก่ การนำเข้า,การประมวลผล และการนำออก โดยการนำเข้าจะรับและรวบรวมข้อมูลดิบภายในองค์กร หรือ จากสภาพแวดล้อมภายนอก การประมวลผลจะเปลี่ยนข้อมูลดิบ ไปอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย หรือเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน และการนำออก จะนำเอาสารสนเทศที่ได้นั้นไปยังผู้ใช้ หรือ ไปยังกิจกรรมที่ใช้งานสารสนเทศนั้น ๆ นอกจากนี้ระบบสารสนเทศยังต้องการสิ่งป้อนกลับ (Feedback) เป็นสิ่งออกที่ย้อมกลับไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมของระบบเพื่อช่วยในการประเมิน และแก้ไข ขั้นตอนนำเข้า หรือประมวลผล
สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาประกอบด้วย
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา เป็นการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทางการศึกษา ของสถานศึกษา ซึ่งสามารถสืบค้นได้ตามหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการพิจารณาวางแผนพัฒนา ปรับปรุงการจัดการศึกษาของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลจำเป็นสำหรับระบบสารสนเทศพื้นฐาน ได้แก่ ข้อมูลสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมืองสังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ
ในการทําระบบสารสนเทศ พื้นฐานของสถานศึกษา ถ้าระบบข้อมูลสารสนเทศไม่ครบถ้วน ไม่ชัด ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความต้องการของชุมชน ก็จะไม่สามารถที่จะหาสิ่งต่างๆเพื่อมาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนได้ และจะไม่ทราบเลยว่าโรงเรียนจะช่วยอะไรตัวเองได้อย่างไร โดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจ สภาพการเมือง สภาพของสังคม โรงเรียนที่ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ การเมือง เช่นกัน ว่าพื้นที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง นักเรียนยากจนไหม และความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไร ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีไหม ควรจะใช้อะไรได้บ้าง เมื่อทราบผลตรงนี้ จะทําให้ระบบเกิดขึ้นและสามารถดําเนินการเรื่องอะไร ต่าง ๆ ได้ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาได้ตามแนวทางที่วางไว้ได้
2. ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องทําการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด สารสนเทศส่วนนี้เกิดจากครูผู้สอนหรือผู้ปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจําแนกเป็นรายชั้นรายปี ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน รายงานผลความก้าวหน้าของผู้เรียน รายงานความประพฤติ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน
ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับ ผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดทําขึ้นให้เป็นไปตามมาตรฐานการประเมินตนเอง เพื่อรองรับการประเมินจากต้นสังกัด และโรงเรียนก็สามารถให้ข้อมูลหรือ ระบบสารสนเทศแสดงผลสัมฤทธิ์ให้เห็นทุกตัวในฐานข้อมูลว่าขณะนี้เป็นอย่างไร บ้าง โดยการเก็บข้อมูลจะส่งผลกับการประเมินคุณภาพผู้เรียน ผลที่ได้จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน
3. ระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การประกันคุณภาพ การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว สื่อนวัตกรรม การนิเทศ การวิจัยในชั้นเรียน การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เป็นต้น ในงานบริหารฝ่ายวิชาการซึ่ง ประกอบด้วยฝ่ายวัดผล ฝ่ายประเมินผล หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระ ต้องมีการเก็บข้อมูลในด้านต่างๆและจากการเก็บข้อมูลก็จะสามารถพบว่ามีนัก เรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆอย่างไร และโรงเรียนก็ต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เช่น โรงเรียนอาจจะช่วยนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหานี้ได้ด้วยสอนเสริมเพิ่มเติมใน วิชาที่นักเรียนมีปัญหา และจากผลความก้าวหน้าตรงนี้จะเป็นชี้วัดว่าโรงเรียนต้องพัฒนาตัวเองให้ไปใน ทิศทางใดได้อย่างไร
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและ การบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น สภาพการบริหารและการจัดการ ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน อัตราส่วนระหว่างจำนวนนักเรียนต่อครู อัตราส่วนระหว่างจำนวนนักเรียนต่อห้อง และอื่น ๆ

                   การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาในส่วนของสถานศึกษา การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและโปร่งใส สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนราก ฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการ ตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น